ประเทศไทยจะอนุญาตให้ต่างชาติขอใบอนุญาตปลูกกัญชาหรือไม่?
กัญชาเคยเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศไทยมานานกว่า 7 ทศวรรษ การจะเป็นผู้ได้รับอนุญาตการผลิตกัญชานั้นดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ แต่ในปี พ.ศ. 2561 กัญชาทางการแพทย์ได้ถูกกฎหมายในประเทศไทย การบรรลุเป้าหมายนี้เกิดขึ้นจากการแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดของไทยซึ่งทำให้กัญชาทางการแพทย์ถูกต้องตามกฎหมาย การใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทยได้รับการเปิดตัวท่ามกลางความตื่นเต้นและได้รับความสนใจอย่างมาก กัญชาเคยถูกใช้ตามประเพณีในประเทศไทยมาก่อนที่จะถูกห้าม และประเทศไทยยังมีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องสายพันธุ์กัญชาพื้นเมือง เช่น พันธุ์หางกระรอก (Thai stick)
ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียมีนโยบายห้ามยาเสพติดที่เข้มงวด และประเทศใหญ่ ๆ อย่างเช่น ประเทศจีนนั้นยังไม่มีแนวโน้มที่จะพิจารณาการอนุญาตให้ใช้กัญชาแต่อย่างใด กัญชาทางการแพทย์ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้นทั่วโลก นอกเหนือจากประโยชน์ทางการแพทย์แล้ว การทำให้กัญชาถูกกฎหมายยังสามารถนำเสนอโอกาสทางเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับประโยชน์จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมกัญชาที่ถูกกฎหมาย (Green Gold Rush) ที่เพิ่งเกิดขึ้นในตลาดกัญชา ตลาดกัญชาในสหรัฐอเมริกามีการแข่งขันสูง แต่ก็ประสบความสำเร็จอย่างมากในหลายรัฐ เช่น โอเรกอน แคลิฟอร์เนีย และโคโลราโด รวมไปถึงประเทศแคนาดา
"ประเทศไทยสร้างประวัติศาสตร์ในเดือนธันวาคม 2561 โดยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. ยาเสพติด) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562"2020 Global Cannabis Guide Chapters - ประเทศไทย
คลินิกกัญชาทางการแพทย์และองค์การเภสัชกรรม
Al Jazeera News เผยแพร่รายงานวิดีโอสุดล้ำอธิบายระบบกัญชาทางการแพทย์ของไทย รัฐบาลได้เริ่มดำเนินการกัญชาเสรี ซึ่งได้รับแแรงสนับสนุนและการมีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างล้นหลาม การขอใบอนุญาตทางการแพทย์ในประเทศไทยนั้นค่อนข้างที่จะดำเนินการง่าย อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าผู้ป่วยจะไม่มีทางเลือกสายพันธุ์กัญชาให้เลือกมากนัก กัญชาและน้ำมันกัญชา (CBD tinctures) เป็นตัวเลือกหลักที่เภสัชกรจัดหาให้กับผู้ป่วยกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย ปัจจุบัน ปัญหาหลักคือการขาดแคลนกัญชาทางการแพทย์ ดังนั้น การพัฒนาแหล่งปลูกที่มั่นคงเพื่อรองรับความต้องการจึงเป็นสิ่งสำคัญ
การใช้พื้นที่วัดเพาะปลูกกัญชา
ควบคู่ไปกับโครงการกัญชาทางการแพทย์ที่รัฐบาลดำเนินการนั้นยังมีการอนุญาตให้หมอพื้นบ้าน และการใช้กัญชาแบบดั้งเดิมเพื่อทางการแพทย์อีกด้วย รายงานข่าวอัลจาซียราอธิบายว่าวัดพุทธบางแห่งเริ่มปลูกต้นกัญชาและตั้งคลินิกของตนเองขึ้น บางคนกังวลเรื่องนี้เพราะไม่มีการดูแลโดยแพทย์โดยตรง ผู้ป่วยกัญชาชาวไทยบางรายยังมีความสับสนเกี่ยวกับประโยชน์ทางการแพทย์ของกัญชา บางคนเชื่อว่าน้ำมันกัญชาเพียงอย่างเดียวอาจเป็นวิธีรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพ ผลที่ตามมาคือ ผู้ป่วยชาวไทยบางรายหลีกเลี่ยงการดูแลทางการแพทย์แบบดั้งเดิมซึ่งอาจมีประสิทธิภาพมากกว่า
อัปเดตปี 2566: รัฐบาลไทยใหม่มีแผนที่จะเขียนกฎหมายกัญชาฉบับใหม่ อนุญาตให้จำหน่ายเฉพาะทางการแพทย์เท่านั้น
ในเดือนกันยายน 2566 นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทยได้ประกาศว่า เขามีแผนที่จะ แก้ไขกฎหมายกัญชาของไทย ให้ถูกต้องตามกฎหมายสำหรับการใช้ทางการแพทย์เท่านั้น ภายในระยะเวลาหกเดือน มาตรการนี้จะยุติการขายกัญชาเพื่อสันทนาการอย่างแพร่หลาย และเปลี่ยนแปลงระบบอย่างมีนัยสำคัญ เพียงหนึ่งปีหลังจากที่ประเทศไทยตัดสินใจครั้งสำคัญในการปลดกัญชาออกจากสารเสพติด
การแก้ไขปัญหาการขาดระเบียบและมาตรการควบคุมการใช้กัญชา
สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึกถึงคือ การแก้ไขกฏหมายกัญชาที่เสนอนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดระเบียบและมาตรการควบคุมการจำหน่ายกัญชา
ตั้งแต่มีการปรับลดโทษทางกฏหมาย มีร้านกัญชาเปิดขึ้นหลายพันแห่งเนื่องจากช่องโหว่ของกฏหมาย ร้านค้าและสถานพยาบาลเหล่านี้จำหน่ายทุกอย่างตั้งแต่ดอกกัญชาไปจนถึงสารสะกัดน้ำมันที่มี THC ต่ำกว่า 0.2% เพื่อให้มีความเข้าใจมากขึ้น ประเทศไทยมักถูกมองว่าเป็นหนึ่งในศูนย์การค้ายาเสพติดที่สำคัญ โดยมีบทบาทสำคัญในตลาดยาเสพติดผิดกฏหมายมูลค่า 130 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ตามข้อมูลของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ)
ตลาดกัญชาในไทยเต็มไปด้วยอุปทานล้นตลาด
สมาคมกัญชาภูเก็ตได้สนับสนุนการออกกฎระเบียบ เนื่องจากอุตสาหกรรมแบบ "ไร้กฏหมาย" ในการควบคุมปัจจุบันนั้นไม่เป็นผลดีต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ตลาดได้เต็มไปด้วยกัญชาที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจากห้องปฎิบัติการอย่างถูกต้อง ตามที่Greenhead Clinicกล่าว สินค้ากัญชาล้นตลาดส่งผลให้ราคาลดลงอย่างมากถึง 50-60% ตั้งแต่กัญชาถูกปลดออกจากบัญชียาเสพติด ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมกัญชาของไทยกล่าวว่ากัญชายังคงอยู่แต่สถานะยังไม่ชัดเจน
การปลูกกัญชาในประเทศไทย
แม้ว่าจะมีการปรับปรุงกฎหมายกัญชาล่าสุดในประเทศไทยถือว่าเป็นสถานที่ยอดเยี่ยมสำหรับการเพาะปลูกกัญชากลางแจ้งเช่นเดียวกับโปรตุเกสและแคริบเบียน เกษตรกรนั้นมีความกระตือรือร้นที่จะปลูกกัญชาในสภาพอากาศเช่นนี้ เพราะคุ้มทุนกว่าการปลูกในสถานที่ที่ไม่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของกัญชา นั่นคือเป็นเหตุผลว่าคุณจึงสังเกตเห็นบริษัทกัญชาจากประเทศแคนาดาและเยอรมณีต้องการที่จะปลูกและส่งออกกัญชาจากประเทศที่มีเขตอากาศร้อนตามธรรมชาติและมีฤดูการปลูกที่ยาวนานกว่า
เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกในโกดังในร่มหรือแม้แต่โรงเรือน การปลูกกลางแจ้งนั้นมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงระมัดระวังการลงทุนจากต่างชาติ และมุ่งเน้นที่จะรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไว้สำหรับประชาชนคนไทย ประเทศไทยคาดหวังว่าหลังปี พ.ศ. 2567 การลงทุนจากต่างชาติจะมีโอกาสมากขึ้นในตลาดกัญชาทางการแพทย์ของไทย การร่วมลงทุนกับบริษัทที่คนไทยเป็นเจ้าของส่วนใหญ่น่าจะเป็นรูปแบบการลงทุนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด เมื่อต้องการขอใบอนุญาตประกอบกิจการกัญชาในประเทศไทย
การควบคุมกัญชาและการออกใบอนุญาตประกอบกิจการกัญชาในประเทศไทย
การปลูก การแปรรูป และจำหน่ายกัญชาในประเทศไทยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทย กระทรวงสาธารณสุขยังมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและการแจกจ่ายกัญชาทางการแพทย์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกองควบคุมวัตถุเสพติด ได้เผยแพร่แนวทางสำหรับการยื่นใบขออนุญาตปลูกและใบอนุญาตประกอบกิจการกัญชาต่าง ๆ บนเว็บไซต์ของสำนักงาน. อย่างไรก็ตาม ไฟล์ PDF ของสำนักงานเหล่านี้เป็นภาษาไทย ดังนั้นคุณจะต้องทำงานร่วมกับล่าม หากคุณต้องการที่จะยื่นขอใบอนุญาตปลูกกัญชาในประเทศไทย
การขอในอบุญาตปลูกกัญชาในประเทศไทย
มาตรการกำกับดูแลกัญชาทางการแพทย์ของไทยกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่คาดว่าตลาดกัญชาของไทยจะไม่เปิดให้ธุรกิจเอกชนเข้าร่วมอย่างเต็มรูปแบบจนถึงปี 2567 ณ เดือนมกราคม 2563, เว็บไซต์ Marijuana Business Daily รายงานว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านกฎระเบียบสำหรับการเพาะปลูกกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทยยังคงอยู่ระหว่างการพัฒนา ปัจจุบันนั้น มีเฉพาะบริษัทของชาวไทยเป็นเจ้าของและหน่วยงานภาครัฐเท่านั้นที่มีใบอนุญาตปลูกกัญชาในประเทศไทย รัฐบาลมีความกังวลต่อนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาในตลาดและแย่งชิงโอกาสทางธุรกิจ แต่บริษัทเอกชนอาจมีโอกาสในการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเกษตรปลูกกัญชา เว็บไซต์ Marijuana Business Daily รายงานว่าประเทศไทยได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการกัญญาทั้งสิ้น 442 ใบในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 โดย 416 ใบเป็นใบอนุญาตจำหน่ายกัญชา มีเพียง 12 ใบที่เป็นใบอนุญาตปลูก และอีก 14 ใบเป็นใบอนุญาตสกัดกัญชา
บทสรุปเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย
ตลาดกัญชาทางการแพทย์ของไทยถือว่าเป็นตลาดใหม่ที่น่าตื่นเต้น ถือว่าเป็นตลาดกัญชาทางการแพทย์แห่งแรกในเอเชียที่เปิดกว้างและเข้าถึงกัญชาได้ง่ายสำหรับการรักษาโรคต่างๆ ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้าร่วมได้อย่างจริงจังแต่ก็ถือว่าคุ้มค่าแก่การศึกษาต่ออย่างแน่อน เพราะการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจการค้านั้นต้องใช้เวลา
การที่คุณเจอบทความนี้นั้นน่าทึ่งมาก เรามั่นใจว่าคุณเป็นผู้ปลูกพืชที่มีความทะเยอทะยานสูง โอกาสทางการค้าระหว่างประเทศไม่ได้หยุดอยู่เพียงเท่านี้ เราได้จัดทำคู่มือเกี่ยวกับการขอในอนุญาตประกอบกิจการกัญชาสำหรับอีกหลายประเทศ เช่น โคลอมเบีย ออสเตรเลีย เม็กซิโก และแอฟริกาใต้ คุณสามารถดูคู่มือเหล่านี้ได้ที่: ใบอนุญาตประกอบกิจการกัญชาในโคลอมเบีย,วิธีการขอใบอนุญาตกัญชาทางการแพทย์ในออสเตรเลีย, วิธีการขอใบอนุญาตประกอบกิจการกัญชาในเม็กซิโก, และวิธีการขอใบอนุญาตประกอบกิจการกัญชาในแอฟริกาใต้
เรียนรู้เพิ่มเติม
กฏหมายกัญชาในประเทศไทยยังมีอีกหลายแง่มุม ปรึกษากับ GrowerIQ เพื่อสร้างแผนธุรกิจกัญชาให้ได้ตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุด ที่ปรึกษาของเราสามารถช่วยเหลือคุณในการวางแผนโคงการและเทคโนโลยีติดตามผลในแบบที่คุณต้องการ เรียนรู้เพิ่มเติมโดยกรอกแบบฟอร์มด้านล่าง หรือคลิกที่ปุ่มเพื่อปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญของเราโดยตรง!
About GrowerIQ
GrowerIQ is changing the way producers use software - transforming a regulatory requirement into a robust platform to learn, analyze, and improve performance.
To find out more about GrowerIQ and how we can help, fill out the form to the right, start a chat, or contact us.